
หลังจากที่จับปลาเมื่อกลางปี 2554 และได้เริ่มทำการขุนปลาตัวผู้และตัวเมียซึ่งมีขนาด 11-15 นิ้ว จำนวน 15 ตัว ในจำนวนนี้มีปลาที่ตาบอด (ตาขุ่นอยู่ 3 ตัว) หลังจากขุนในบ่อขนาด 2.5 x 2 เมตร น้ำลึก 50 cm ในระยะเวลา นาน 2-3 เดือน เริ่มสังเกตว่า มีตัวเมียอยู่ 1 ตัวขนาด 13 นิ้ว เริ่มมีการพัฒนารังไข่ เข้าสู่ ระยะที่ 2 จึงทำการให้เหยื่อ ลูกปลา หลังจากนั้นการพัฒนาของรังไข่ น่าจะอยู่ระดับ 3-4 นาน ไปจนถึงเดือน ธันวาคม แต่ผมก็ยังไม่สามารถฉีดฮอร์โมนได้เนื่องจาก ปลาอวัยวะเพศ ยังไม่พร้อมเต็มที่ และก่อนปีใหม่ 5 วัน จับปลามาเช็คอีกครั้ง คาดว่าปลาใกล้สมบูรณ์พร้อมที่จะฉีดได้ ภายใน 1-3 วันนี้ แต่พอผ่านไปอีกวัน ตอนเช้าปรากฎว่าปลาตัวเมียตัวนี้นอนตายที่ก้นบ่อ

โดยไม่ทราบสาเหตุ เลยได้นำปลาขึ้นมาเช็คถึงสาเหตุการตาย และตีประเด็นไว้ 3 ประเด็น

1 . อ๊อกซิเจนไม่พอสำหรับปลาท้องแก่ (ปลาท้องแก่ต้องการ อ๊อกสูงกว่าปกติ และมักมีอาการหอบๆ ที่ผิวน้ำ ) 2 . จุกไข่ ? กรณีนี้ไม่แน่ใจว่า จะใช่หรือไม่ เพราะจริงๆก็ยังไม่ได้ฉีดฮอร์โมนใดๆ 3. พาราสิต ?

หลังจากปลาตายได้ทำการผ่าพิสูจน์เบื้องต้น ดั่งรูปที่ปรากฎ ทำให้เห็นว่า ปลามีไข่ที่อยู่ในระดับ 4 โดยมาก เม็ดไข่โดยส่วนมากแยกเป็นเม็ดโดยมาก แต่ไม่พบรังไข่ที่มีไข่อ่อน ในระดับ1และ 2 ครับ ส่วนเหงือกของปลาที่พบ มีอาการซีดขาว และแตกเป็นเส้นๆ มีตะกอนเกาะอยู่ประปราย ดูจากอาการน่าจะตาย ใน ช่วง ตี 1-2 เนื่องจากยังไม่มีกลิ่นเน่า และกล้ามเนื้อยังอยู่ในช่วงแข็งตัวหลังจจากตาย
สรุป

ประเด็นหลักๆน่าจะมาจากการขาดอากาศ และ จากการที่ปลาตายในครั้งนี้ ทำให้ผมต้องตัดสินใจ นำปลาที่เหลือทั้งหมด ปล่อยลงบ่อดิน เนื่องจากการ ช่วงนี้มีการจับปลาคาร์พมาพักหลายบ่อ ทำให้ต้องนำตัวเมีย ที่เคยแยกเลี้ยง จำเป็นต้องเอามารวม ในอ่างของปลาเสือตอฝูงใหญ่ และปลาเหยื่อ ที่เพิ่มเข้าไปก็มีส่วนทำให้การบริโภค อ๊อกซิเจนของน้ำมีเพิ่มขึ้นด้วย ดั่งนั้น จึงจำเป็นต้องรอ สร้างบ่อปูนเพิ่ม และรอการเพาะพันธุ์ ครั้งต่อไป บทเรียนครั้งนี้โดยส่วนตัวคิดว่ายังไม่รอบคอบพอ โดยเฉพาะ กับปลาตัวเมียท้องแก่ ดังนั้นครั้งต่อไปต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมครับ